การ์ตูน

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงการศึกษาประเมินศักยภาพและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
เพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
                                    
1. ความเป็นมาและปัญหา
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยในพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะเกษตรกรในชนบทที่ยากไร้รวมทั้งชาวเขาเผ่าต่างๆราษฎรเหล่านี้ ขาดแคลนที่ทํากินขาดแหล่งน้ำและขาดความรู้ในการเกษตรกรรมที่ดีพอจึงทําให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหา ความยากจนของตัวเองได้ ี่พระองค์เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรหรือได้สดับรับฟังปัญหาก็มักทรงมีพระราชดําริให้การช่วยเหลืออยู่เสมอมาจนเกิดเป็น โครงการในพระราชดําริ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ และโครงการหลวง ต่างๆ มากมายกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โครงการหลวงเกิดขึ้นจากการเสด็จเยี่ยมราษฎรชาวเขาในภาคเหนือทรง ทราบถึงปัญหาการตัดไม้ทําลายป่า เผาถ่านทําไร่เลื่อนลอยมีการปลูกข้าวไร่ไว้กินและมีการปลูกฝิ่นไว้ขาย เนื่องจากที่บนเขามีความ ลาดชัน หน้าดินถูกชะล้างโดยง่ายทําให้ดินเสื่อมโทรม ชาวเขาจึงมักย้าย ที่เพาะปลูกโดยการรุกที่ป่าเข้าไป เรื่อยๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดําริให้พัฒนาอาชีพของชาวเขาจากการปลูกฝิ่นเป็นการ ปลูกพืชทดแทนอย่างอื่น เช่น ท้อ โดยจัดตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 เพื่อช่วยเหลือดูแลการพัฒนา ตลอดจนรับซื้อผลผลิตต่อมาจึงได้ มีการวิจัยโดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อนำพืชผักและไม้ดอก จากเมืองหนาว ต่างประเทศมาทดลองปลูกมากมายหลายชนิดและมี การพัฒนาเพิ่มในที่ต่างๆ ถึง 37 ศูนย์ใน 5 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ในปี พ.ศ. 2546 เกษตรกรในพื้นที่ พัฒนาโครงการหลวงมีรายได้จาก การขาย ผลผลิตรวมกันเกือบ 300 ล้านบาท นอกจากการพัฒนาอาชีพและสังคมแล้ว โครงการหลวงยังมีบทบาทสําคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนต้นน้ำลําธารอีกด้วย
โครงการพระราชดำริ จํานวนมากที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นการพัฒนาแบบ ผสมผสานเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ ของราษฎรในชนบท และยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการพัฒนาทาง เกษตรกรรมให้แก่นิสิตนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป โครงการพระราชดําริบางโครงการเป็นการวิจัย พัฒนาสิ่งประดิษฐ์; ที่เกิดจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่น กังหันน้ำมูลนิธิชัยพัฒนา การแกล้งดินเพื่อแก้ดินเปรี้ยว การปลูกหญ้าแฝกเพื่อ รักษาหน้าดิน โครงการแก้มลิงหรือการทําเกษตร อย่างพอเพียง ฯลฯ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวที่ทรงใช้ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดให้มีโครงการพัฒนาบนพื้นที่ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นการพัฒนาด้านเกษตรกรรมตามแนวทาง เกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้ง เพื่อให้เป็นสถานที่ ทดลอง ค้นคว้า ศึกษา อบรมให้แก่ เกษตรกร และนิสิตนักศึกษาในด้านการพัฒนาสร้าง รูปแบบการประกอบอาชีพของชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกษตรกร ในพื้นที่ใกล้เคียงและ ผู้สนใจได้ นําไปถือปฏิบัติเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรและเกษตรกรที่ยากจนให้มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น
   กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นหน่วยงานด้านวิชาการและปฏิบัติที่มีภารกิจในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย บริหารจัดการ ควบคุมดู แล อนุรักษ์ ฟื้นฟู และทรัพยากรน้ำบาดาล ได้รับการติดต่อประสานงานจาก สํานักงานจั ดการทรัพย์ สินส่วนพระองค์ ให้สนับสนุนการพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับกิจกรรมต่างๆ ของ โครงการในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อย่างต่อเนื่องกันมา และกรมทรัพยากรน้ำบาดาลก็ได้ ใช้ หลักวิชาการในการพัฒนาน้ำบาดาล ได้แก่ การศึกษาประเมินศักยภาพ พัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ตลอดจน สร้างเครือข่ายติดตามเผ้าระวังผลกระทบที่อาจติดตามมาจากการใช้ น้ำนอกจากนี้ แล้ว ยังใช้เป็นต้นแบบ สําหรับการพัฒนาน้ำบาดาลของพื้นที่ใกล้เคียงที่ มี สภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ที่จะนำแนวทางไป พัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อกิจกรรมทางการเกษตรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ต่อไป
ในปีงบประมาณ 2549 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลมีเป้าหมายที่จะดําเนินพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อ สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ในพื้นที่ 5 โครงการ ซึ่งได้มีการสํารวจเบื้องต้นและเห็นว่ามี ความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อกิจกรรมของโครงการเหล่านั้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับการอุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตรกรรมให้ แก่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริ โครงการส่วนพระองค์ หรือโครงการหลวง เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่โครงการได้ความ เป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น
2. เพื่อศึกษาประเมินศักยภาพน้ำบาดาลขั้นรายละเอียด และพัฒนาน้ำบาดาลให้แก่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริต่างๆ พร้อมจัดสร้างเครือข่ายติดตามเฝ้าระวัง สำหรับการบริหารจัดการแหล่งน้ำ บาดาลตามหลักวิชาการ โดยให้ผลการศึกษาเป็นต้นแบบสําหรับนําไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพ อุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
3. ประโยชน์
1) ราษฎรในพื้นที่โครงการได้มีน้ำเพื่อการอุโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร อย่างพอเพียง มีแหล่งน้ำ สําหรับการเกษตรในฤดูแล้ง
2) ทําให้ทราบศักยภาพน้ำบาดาลของแอ่งน้ำบาดาล สําหรับการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค ซึ่งเป็น ข้อมูลสําคัญในการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของแต่ละโครงการ
3) มีการตรวจสอบและติดตามสภาพน้ำบาดาลที่อาจได้รับผลกระทบ ทั้งในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง เพื่อป้องกันวิกฤตการณ์น้ำบาดาล
4) เกษตรกรนอกโครงการสามารถนําผลที่ได้จาการศึกษา ไปออกแบบและก่อสร้างระบบการจ่ายน้ำเพื่อ การเกษตรกรรมในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
4.งานที่ปฎิบัติ กิจกรรมหลัก และผลผลิต
การใช้หญ้าแฝกลดปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชผักและไม้ผลเมืองหนาว
ในพื้นที่การเกษตรของโครงการหลวง

หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง1
โครงการหลวงโดยในหลวงของเรา ได้ทรงพระราชทานแนวทางการดำเนินงานเอาไว้ตั้งแต่
.. 2512 ประการหนึ่งก็คือ ให้มีการผลิตพืชผักและผลไม้ โดยให้ความสำคัญต่อการเคารพธรรมชาติ
หรือภูมิสังคมมาโดยตลอด เน้นใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง เพื่อให้ได้ผลผลิต
ปลอดภัยจากสารพิษและมีคุณภาพชีวิตที่ดี การใช้หญ้าแฝกมาปลูกร่วมกับระบบการผลิตตั้งแต่ปี พ..2534
เป็นต้นมา ก็เป็นอีกวิธีชีวภาพวิธีหนึ่ง ที่ใช้ได้ดีส่งผลให้บนพื้นที่สูง มีการปลูกหญ้าแฝก ก็เพื่อป้องกันการ
ชะล้างพังทลายของดิน ช่วยรักษาความชุ่มชื้นและเสริมความแข็งแรงของระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ
กล ต่อมาความรู้เรื่องการใช้ประโยชน์มีมากขึ้น จึงได้นำหญ้าแฝกไปปลูกขวางร่องน้ำ บ่อดักตะกอน
ไหล่ถนน และบริเวณพื้นที่ซึ่งเกิดดินถล่มในปัจจุบันด้วยการมีหมอดินดอยอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกรบ้านนอแล ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหญ้าแฝกเป็นอย่างดี สามารถแยกหน่อหญ้าแฝกจากแถวปลูกเดิม ขยายพันธุ์นำไปปลูกตามพื้นที่อื่นได้เองอย่างน่าพอใจ บางครั้งก็ขายกล้าและใบให้กับเกษตรกรรายอื่นที่ปลูกสตรอเบอรี่ เพื่อนำไปปลูกและคลุมแปลงสถานที่แห่งนี้กลายเป็นจุดเรียนรู้ให้เกษตรกรหลายจังหวัด และ เกษตรกรจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอื่นๆรวมทั้งต่างประเทศ มาศึกษาดูงานเพื่อนำเอาไปเป็นแบบอย่าง แนวทางต่างๆที่ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวงได้ส่งเสริมการทำงานกับเกษตรกรชาวเขาในพื้นที่สูง เป็นการปฏิบัติตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ให้รู้จักพึ่งพาตนเองในลำดับแรก นับว่ามีความสอดคล้องและต้องยึดไว้เป็นหลักสำคัญ นั่นคือ เมื่อจะดำเนินงานอะไร หลักอันแรกให้ สำรวจ
ศักยภาพตนเอง หลักอันที่สอง คิดบนหลักเหตุและผล หลักอันที่สามสุดท้ายต้อง สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อลดความเสี่ยง
หญ้าแฝกกับการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูง
พื้นที่ ของโครงการหลวงในเขต 6 จังหวัดภาคเหนือ ส่วนใหญ่จะอยู่บนพื้นที่สูงซึ่ง
สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่างตั้งแต่ 500 จนถึงมากกว่า1, 000 เมตร การปลูกหญ้าแฝกจะปลูกเป็น
แนวขวางความลาดชัน ระยะห่างขึ้นอยู่กับความลาดชัน พื้นที่มีความลาดชันน้อย ระยะแถวหญ้าแฝกที่ปลูกก็
จะห่าง แต่ถ้าพื้นที่มีความลาดชันมากขึ้น ระยะแถวหญ้าแฝกที่ปลูกก็จะถี่ขึ้น โดยปกติจะใช้ค่าต่างระดับ
ระหว่าง 1.50 เมตร ในพื้นที่ที่จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำแบบขั้นบันไดดิน หรือแบบคูรับน้ำขอบเขา
1 ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง (ศพล.) กรมพัฒนาที่ดินหรือคันดินบนพื้นที่สูง ก็ให้ปลูกหญ้าแฝกตามขอบขั้นบันได หรือขอบคูรับน้ำขอบเขา หรือขอบล่างคันดินเพื่อช่วยยึดโครงสร้างให้มั่นคงขึ้น ระยะปลูกระหว่างต้น 5 ซม. บนระบบที่จัดทำขึ้นจะแนะนำและส่งเสริมให้ปลูกไม้ผลเมืองหนาว พืชผัก และไม้ดอกเมืองหนาวการปลูกหญ้าแฝกขอบขั้นบันได การปลูกหญ้าแฝกขอบคูรับน้ำขอบเขา
หญ้าแฝกกับแมลงศัตรูพืชผัก
จากการแลกเปลี่ยนความรู้กับเจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินแม่ฮ่องสอนได้ข้อมูลว่า ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ถือปฏิบัติมาเป็นเวลานานแล้วในการใช้รากหญ้าแฝกหอม มัดเป็นกำวางรองก้นตะกร้าเก็บเสื้อผ้า หรือวางไว้ในตู้เสื้อผ้า เพื่อขับไล่แมลง และมีเกษตรกรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงในพื้นที่โครงการพระราชดำริขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ทำการขยายพันธุ์หญ้าแฝกให้โครงการฯ สังเกตพบว่า พื้นที่ที่ใช้ขยายพันธุ์หญ้าแฝกนั้น เดิมมีปลวกอาศัยอยู่ หลังจากการปลูกหญ้าแฝกแล้ว ไม่มีปลวกอาศัยอยู่อีกต่อไป เกษตรกรคนนี้จึงได้นำหญ้าแฝก ไปปลูกในพื้นที่ทำการเกษตรของตนเอง
ผลที่ได้รับก็คือ สามารถไล่ปลวกได้เช่นเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของต่างประเทศที่มีการสกัดสาร
Nootkatone ในรากหญ้าแฝกหอมซึ่งมีผลต่อการย่อยอาหารของปลวกนอกจากนี้ในการสำรวจปริมาณแมลงศัตรูพืชผักในสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โดยการใช้วิธีการสังเกตของเจ้าหน้าที่ศูนย์อารักขาพืช มูลนิธิโครงการหลวง สำหรับแปลงสวนผักอินทรีย์ บ้านนอแล ตำบลม่อนปิน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ 1 ใน 17 แห่ง ที่ผลิตผักอินทรีย์ออกจำหน่ายในตราดอยคำ ก็มีการสำรวจแมลงศัตรูพืชผักด้วย ชนิดของผักอินทรีย์ที่โครงการหลวงผลิตมีมากถึง 27ชนิด สำหรับสวนอินทรีย์พื้นที่ 165 ไร่ แบ่งเป็นแปลงโซน A โซน B และโซน C ซึ่งแปลงโซน A มี 73ไร่ แปลงโซน B มี 32 ไร่ และแปลงโซน C มี 60 ไร่ ตามลำดับ เมื่อกลางปี พ..2546 ได้ปลูกหญ้าแฝกไปทั้งหมดจำนวน 760,389 กล้า พบว่าหลังจากปลูกหญ้าแฝกตามขอบของระบบอนุรักษ์ดินและน้ำแบบขั้นบันไดดินได้ 1 ปีเศษในกลางปี พ..2547 เกษตรกรก็เริ่มได้ใชประโยชน์จากใบหญ้าแฝก และเกี่ยวใบที่ความสูงระดับ 30 – 40 ซม.ได้ปริมาณมากขึ้นในปี พ..2548 และปี




โครงการศึกษาฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม


                                                                                   
                                                                                                                                                                                                                           เขาชะงุ้ม     



โครงการศึกษาฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม   (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
บ้านเขาชะงุ้ม  หมู่ที่  2      ตำบลเขาชะงุ้ม  อำเภอโพธาราม  จังหวัดราชบุรี
พิกัด  47 PNR 762-170    ระวางแผนที่  4936 III   
หน่วยงานรับผิดชอบ  โครงการชลประทานจังหวัดราชบุรี  สำนักชลประทานที่ 13  กรมชลประทาน
ผู้รับผิดชอบโครงการ 
1.   นายไพรัตน์  ทับประเสริฐ  ตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดราชบุรี 
สำนักชลประทานที่ 13
2.   นายอัศวิน  สมุทรจักร  ตำแหน่ง ฝวศ.คป.ราชบุรี  โครงการชลประทานจังหวัดราชบุรี
สำนักชลประทานที่ 13  
 วัตถุประสงค์โครงการ
1.   เป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและสาธิตทดสอบวิธีการฟื้นฟูปรับปรุงดินเสื่อมโทรมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพื่อเป็นรูปแบบและส่งเสริมอาชีพเกษตรกรที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่โครงการ  ได้เรียนรู้วิธีการจัดการดิน  น้ำ  และพืช  อย่างถูกต้อง  มีความยั่งยืนไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
2.    เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำในเขตพื้นที่โครงการให้เพียงพอกับการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร
3.    เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำรอบพื้นที่โครงการฯ ให้เพียงพอกับการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรสำหรับกิจกรรมการขยายผลของโครงการฯ
4.    เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน  น้ำ  และป่าไม้  ให้คงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติอย่างยั่งยืน
5.    เป็นแหล่งศึกษาดูงาน
 สภาพทั่วไป
1.    สภาพพื้นที่ของโครงการฯ  เป็นที่ราบเชิงเขา  มีความลาดชัน  1-10%  มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาด
2.    เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายและปนกรวด  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
3.    มีการชะล้างพังทลายของดินจนสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์
4.    พื้นที่บางแห่งมีการขุดลูกรังไปขาย  ทำให้พื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะใช้ทำการเกษตรอีกต่อไป
5.    ความแห้งแล้งแสดงเป็นค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนในช่วง  14  ปี  (ปี2531 2544)  700  มม./ปี   ค่าเฉลี่ย จำนวนวันที่ฝนตก  50  วัน/ปี
 ระยะเวลาดำเนินการ      1  ปี      ปีพ.ศ.2552
 ประโยชน์ที่จะได้รับ
1.       เพื่อเก็บกักน้ำให้เกษตรกรในพื้นที่การเกษตรมีปริมาณน้ำเพียงพอกับความต้องการของราษฎร
2.       สภาพแวดล้อมได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น
3.       การใช้ที่ดินมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4.       ดินและน้ำได้รับการอนุรักษ์เพิ่มขึ้น
5.       ไฟป่าลดลง
6.       เป็นที่ศึกษาดูงานและค้นคว้าวิจัยการพัฒนาที่ดิน  พื้นที่รับประโยชน์ในช่วงฤดูฝน  1,849  ไร่   ฤดูแล้ง  1,849 ไร่  จำนวนครัวเรือน  249 ครอบครัว       

http://www.rid.go.th/royalproject/index.php?option=com_content&view=article&catid=87%3A2009-05-04-07-35-57&id=182%3A2009-05-28-08-41-13&Itemid=7

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คำอวยพรเปิดภาคเรียนใหม่...แด่เพื่อนๆ

เปิดภาคเรียนใหม่แล้ว...ขอให้ผ่องแผ้วสุขสันต์
เรียนหนังสือ...ขอให้สนุกทั้งวัน
คิดสิ่งใดนั้น...ขอให้สมฤทัย
สมองจงโปร่งสัย...โล้งโปร่งสัย
ทำงานส่งอาจารย์...ได้ส่งเร็วไว
ถึงช่วงท้ายทำข้อสอบได้...ได้เกรดA